การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และเพื่อวัดระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเมืองคง อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 186 คน และทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการเลือกแบบไม่เจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามแบบเลือกตอบ และแบบมาตราส่วนประเมินค่า โดยสอบถามในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การใช้สื่อประกอบการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ การใช้เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล บทบาทของครูการงานอาชีพและเทคโนโลยี และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าความพึงพอใจของด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยภาพรวม (x̄=4.35, S.D.=0.63) ด้านการใช้สื่อประกอบการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยภาพรวม (x̄=3.94, S.D.=0.69) ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยภาพรวม (x̄=4.19, S.D.=0.69) ด้านการใช้เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยภาพรวม (x̄=4.46, S.D.=0.93) ด้านการวัดผลและประเมินผลมีค่าเฉลี่ยภาพรวม (x̄=4.28, S.D.=0.71) ด้านบทบาทของครูการงานอาชีพและเทคโนโลยีมีค่าเฉลี่ยภาพรวม (x̄=4.38, S.D.=0.64) และด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยภาพรวม (x̄=3.80, S.D.=0.82) โดยทุกด้านมีระดับความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมาก ส่วนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ เกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียน โดยการแยกเป็นประเด็นสรุปเป็นด้านต่าง ๆ ได้ 4 ด้านดังต่อไปนี้ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านสื่อวัสดุอุปกรณ์ ด้านสภาพแวดล้อมและบริบทของห้องเรียน และด้านการกำหนดระยะเวลา
ABSTRACT
his study aimed to Student Satisfaction Survey on Learning Area of Occupations and Technology Management, which focuses on Learner Centered and to measure satisfaction levels of students towards the Learning Management. The sample used in this study were 186 Middle School (Grade 7) students of Mueang Khong School, Khong district, Nakhon Ratchasima and make selections sample by non-Purposive sampling method. The instruments used in the study were questionnaire with multiple choice answers and Rating Scale of the inquiry learning activities management, use the Instructional Media, participation the Learning Management, use the Learning Management method technique, Measurement and Evaluation, role of Occupations and Technology teacher and the environment that is conducive to learning, Data were analyzed by using a computer program to calculated percentage, average and standard deviation. The results showed that the satisfaction of the learning activity management with an overall average (x̄=4.35, S.D.=0.63), use the Instructional Media with an overall average (x̄=3.94, S.D.=0.69), participation the Learning Management with an overall average (x̄=4.19, S.D.=0.69), use the Learning Management method technique with an overall average (x̄=4.46, S.D.=0.93), Measurement and Evaluation with an overall average (x̄ =4.28, S.D.=0.71), role of Occupations and Technology teacher with an overall average (x̄=4.38, S.D.=0.64) and the environment that is conducive to learning with an overall average (x̄=3.80, S.D.=0.82). All aspects are high satisfaction levels. The comments and suggestions on Student Satisfaction are divided into various issues summarized as the following four aspects, including the teaching, Instructional Media, the environment and context of classroom, and timing.