การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบชุดตัวอักษรของสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 2) เพื่อสร้างชุดตัวอักษรของสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อชุดตัวอักษรของสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ผลการศึกษาพบว่า แบบชุดตัวอักษรของสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา อยู่ในระดับดีมาก (x̄=4.72, S.D.= 0.31) คิดเป็นร้อยละ 94.00 รูปแบบชุดอักษรสามารถสื่อสารได้ และรูปแบบชุดอักษรกลมกลืน เป็นเอกภาพ (x̄=5.00, S.D.=0.00) คิดเป็นร้อยละ 100 อยู่ในระดับดีมาก เหมาะสมกับการนำไปประยุกต์ใช้ (x̄=4.80, S.D.=0.45) อยู่ในระดับดีมาก และมีความชัดเจน จดจำง่าย ขนาดสัมพันธ์กับการมองเห็น การย่อขยาย (x̄=4.40, S.D.=0.55) คิดเป็นร้อยละ 88.00 อยู่ในระดับดี
ความพึงพอใจต่อชุดตัวอักษรของสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มีความพึงพอใจระดับมาก (x̄=4.39, S.D.= 0.49) คิดเป็นร้อยละ 87.80 รูปแบบชุดอักษรมีความน่าสนใจ (x̄=4.52, S.D.=0.59) มีความพึงพอระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 90.40 สามารถนำไปใช้งานกับหน่วยงานอื่น ๆ (x̄=4.48, S.D.=0.59) มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 96.00 สามารถจดจำรูปแบบตัวอักษรได้ และความกลมกลืนของชุดอักษร (x̄=4.28, S.D.=0.68) มีความพึงพอใจระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 85.60
คำสำคัญ : การออกแบบชุดอักษร, สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา
Text-to-speech function is limited to 200 characters
ABSTRACT
The propose of this study were to 1) design letters set of Education Program in Industrial Technology, Faculty of Industrial Technology, Nakhon Ratchasima Rajabhat University as well as to create letters 2) set of Education Program in Industrial Technology, of Industrial Technology, Nakhon Ratchasima Rajabhat University. 3) To study the satisfaction of character sets of industrial education. Faculty of Industrial Technology Nakhon Ratchasima Rajabhat University.
The research indicates that letters set of Education Program in Technology, Faculty of Industrial Technology, Nakhon Ratchasima Rajabhat University is very good level (x̄=4.72, S.D.=0.31) , which is equal to 94.00% of form of letters set which can be communicated and form of letters set is harmonious unity (x̄=5.00, S.D.=0.00) representing a very good 100% which was very good level and appropriate application (x̄=4.80, S.D.=0.45) was very good level as well as clarification, easy memorization, relation of size and vision, abbreviation-expansion (x̄=4.40, S.D.=0.55) representing 88.00% in good level.
Satisfaction of letters set of Education Program in Industrial Technology, Faculty of Faculty of Industrial Technology, Nakhon Ratchasima Rajabhat University high level of satisfaction (x̄=4.39, S.D.= 0.49) equally to 87.80%, Font styles are interesting (x̄=4.52, S.D.=0.59), satisfaction is in much level or equally to 90.40%, utilization in other departments (x̄=4.48, S.D.=0.59), satisfaction is much level or equally to 96.00%, can be used with other agencies and harmony of letter set (x̄=4.28, S.D.=0.68), very satisfied 85.60%.
Keyword : Font Design, Industrial Education
Text-to-speech function is limited to 200 characters
ปัจจุบันตัวอักษร (Font) มีความสำคัญมากต่อการผลิตงานด้านกราฟิก สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อดิจิทัล ล้วนมีความมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ตัวอักษรที่บ่งบอกถึงความเป็นอัตลักษณ์และสร้างเอกลักษณ์ที่สามารถจดจำได้ (Corporate Identity) คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทในด้านการออกแบบเป็นอย่างมาก ตัวอักษรนับว่ามีความจำเป็นที่ใช้สื่อความหมายแทนการพูด นักออกแบบล้วนต้องการรูปแบบตัวอักษร
ใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้สื่อความหมายให้มีรูปแบบที่แตกต่างออกไปรวมถึงลิขสิทธิ์ตัวอักษรหรือฟอนต์นั้น ๆ ด้วย ในด้านการออกแบบตัวอักษรนั้นมีความสำคัญต่อการสื่อสารเป็นอย่างมาก เพราะตัวอักษรเป็นตัวแปรสำคัญในการออกแบบกราฟิก เป็นตัวหลักในการสื่อสารหรือสื่อผ่านความรู้สึกอื่น ๆ ออกไป (อนุทิน วงศ์สรรกร, 2555) สื่อดิจิทัลที่ใช้โปรแกรมกราฟิกและโปรแกรมสำหรับงานพิมพ์ เช่น Adobe Photoshop Adobe Illustrator Adobe InDesign Microsoft Word LibreOffice Writer OpenOffice ในระบบ ปฏิบัติการ Windows macOS และ Linux รวมทั้งบริการออนไลน์อย่าง Google Docs ปัญหาหนึ่งที่ผู้สร้างสรรค์เอกสารต้องประสบปัญหาเอกสารสูญเสียรูปแบบตัวอักษรเนื่องด้วยอุปกรณ์ที่แสดงผลนั้น ๆ ทำให้ต้องเสียเวลาจัดเอกสารใหม่ จากการทำงานซ้ำซ้อน สิ้นเปลืองกำลัง เวลา และงบประมาณ
สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เป็นการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ค.บ. (อุตสาหกรรมศึกษา) มีวัถตุประสงค์หลักเพื่อผลิตครู บุคลากรทางการศึกษาของภาครัฐ ภาคเอกชน หรือฝายปฏิบัติประจำหน่วยงาน นักเทคโนโลยีอุตสาหกรรม วิทยากรฝึกอบรม ในสถานประกอบการของภาครัฐหรือภาคเอกชน ธุรกิจส่วนตัวหรือผู้ประกอบการ โดยมีพันธกิจ 1) ผลิตบัณฑิตทางด้านครูช่างอุตสาหกรรม ให้มีความรู้ความเข้าใจและเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพด้านอุตสาหกรรม สามารถบูรณาการวิชาการและประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพครูหรือบุคลากรในหน่วยงาน ภาครัฐและภาคเอกชน 2) ผลิตบัณฑิตให้มีทักษะและเทคนิคในวิธีการสอนด้านอุตสาหกรรมและสามารถใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการพัฒนาด้านงานวิจัยและบริการวิชาการสู่สังคม 3) บัณฑิตมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู 4) ส่งเสริมบุคลากรให้ได้รับการอบรมศึกษาต่อ ในระดับสูงขึ้น และพัฒนาสู่ตำแหน่งทางวิชาการ 5) ประสานความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ดังที่กล่าวข้างต้นสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษาได้มีการเรียนการสอนรายวิชา หลักการออกแบบ การเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์ การพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ และการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา ซึ่งเป็นรายวิชาที่มีการนำรูปแบบของตัวอักษรมาใช้ เพื่อแสดงถึงอัตลักษณ์ของสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา ทำให้เกิดแนวความคิดเพื่อพัฒนาชุดแบบตัวอักษร เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานโดยการประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่
จากเหตุผลดังกล่าว เป็นเหตุให้ผู้วิจัยเกิดแนวคิดที่จะออกแบบชุดตัวอักษร สำหรับสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยได้พัฒนาชุดแบบตัวอักษรและชุดตารางฟอนต์ (Font Template) ให้เหมาะสมในการออกแบบและใช้งานที่เพิ่มความสวยงามและความทันสมัยให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้เป็นรูปแบบอักษรอีกทางเลือกหนึ่งที่มีมาตรฐาน สามารถสร้างอัตลักษณ์ได้อย่างแท้จริงและหลากหลายยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างสรรค์ผลงานด้านการออกแบบใหม่ ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานและองค์กรต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อออกแบบชุดตัวอักษรของสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
2. เพื่อสร้างชุดตัวอักษรของสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อชุดตัวอักษรของสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
สมมติฐานการวิจัย
การสร้างชุดตัวอักษรดิจิทัลภาษาไทย ประกอบด้วย พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และสัญลักษณ์
อื่น ๆ ทางการพิมพ์
ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากร คือ บุคลากร สายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 511 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านออกแบบ 5 คน และบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยเลือกแบบเจาะจง โดยเลือกจากหน่วยงาน สำนัก สาขาวิชา คณะ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 50 คน
กรอบแนวคิด
การออกแบบชุดตัวอักษรของสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ประกอบด้วย
1. การออกแบบชุดตัวอักษรของสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา
2. การสร้างชุดตัวอักษรดิจิทัลภาษาไทย ประกอบด้วย พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และสัญลักษณ์อื่น ๆ ทางการพิมพ์
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
ได้ชุดตัวอักษรดิจิทัลภาษาไทย ประกอบด้วย พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และสัญลักษณ์
อื่น ๆ ทางการพิมพ์ ของสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา
นิยามศัพท์เฉพาะ
ชุดอักษร (Font Set) หมายถึง ชุดตัวอักษรดิจิทัลภาษาไทย ประกอบด้วย พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และสัญลักษณ์อื่น ๆ ทางการพิมพ์ ลักษณะเป็นตัวพิมพ์สามารถทำงานผ่านโปรแกรมด้านการจัดการเอกสารและงานออกแบบประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อมัลติมีเดีย ในรูปเฉพาะทางกึ่งทางการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ของสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา
วิธีดำเนินการวิจัย
1. ขั้นศึกษาความต้องการ
วิเคราะห์ความต้องการ ศึกษาตำราเอกสารและความต้องการรูปแบบของ ตัวอักษรสำหรับสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา โดยการวิเคราะห์ความรู้ พิจารณาความเหมาะสมของรูปตัวอักษรเพื่อนำไปออกแบบออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์
2. ขั้นสร้างต้นแบบตารางฟอนต์
กำหนดสิ่งต้องเรียนรู้ในการสร้างแบบตารางฟอนต์ในการออกแบบตัวอักษร มีวิธีการดังต่อไปนี้
ศึกษาลักษณะประเภทของฟอนต์ นำตารางฟอนต์ต่าง ๆ ที่เกิดปัญหาจากการใช้ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ macOS Windows ที่มีความแตกต่างกัน ในด้านงานเอกสารพื้นฐาน Microsoft Word การแสดงผลของตัวอักษร สระ วรรณยุกต์ที่ทับซ้อนกันในการพิมพ์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกในด้านการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ การทำงานด้านสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อมีเดีย และเว็บเพจ โปรแกรมกราฟิกที่จำเป็น เช่น Adobe Photoshop Adobe illustrator Adobe inDesign รวมทั้งโปรแกรม CorelDraw เป็นต้น แล้วนำแบบตารางฟอนต์ของแต่ละประเภทมาเปรียบหาจุดพกพร่องของแบบตัวอักษรและได้ออกแบบปรับชุดตารางฟอนต์ใหม่
3. ขั้นออกแบบและพัฒนาชุดตัวอักษร
นำแบบชุดของตารางฟอนต์ที่พัฒนาขึ้น มาใช้เพื่อให้การสร้างชุดตัวอักษรภาษาไทยให้ง่ายขึ้น และแก้ไขปัญหาการใช้สระอำ ไม้โท ที่ทับซ้อนกัน โดยที่มีการพัฒนาโปรแกรมใหม่ ๆ ขึ้นตามสมัย เช่น โปรแกรมกราฟิก Adobe CS Adobe CC ส่งผลต่อการใช้ฟอนต์ภาษาไทยบางส่วนทำให้สระวรรณยุกต์ไม่เป็นดังที่ควรเป็น การสร้างต้นแบบของตารางฟอนต์ชุดใหม่ ได้มีการปรับแก้ Script feature liga เพื่อควบคุมตัวอักษรแบบ OpenType ใหม่ เพื่อรองรับโปรแกรมกราฟิก Adobe CS Adobe CC และชุด Microsoft Office 2016 ด้วยการนำแบบอักษรที่กำหนดไว้มาออกแบบและสร้างชุดตัวอักษรด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก Adobe Illustrator Adobe Photoshop และ FontLab Studio โดยนำตัวอักษรที่ออกแบบตามดังต้องการใส่ลงบนชุดตารางรางฟอนต์ตามตัวอักษรที่กำหนด และทดลองพิมพ์และใช้งานควบคู่กับการออกแบบและพัฒนาชุดตัวอักษรด้วย
4. ขั้นทดลองใช้
4.1 นำแบบชุดอักษรของสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษาที่ออกแบบและพัฒนาขึ้น มาทดลองพิมพ์ใช้ด้วยโปรแกรมงานเอกสารพื้นฐาน Microsoft Word โปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก Adobe Illustrator Adobe Photoshop พร้อมปรับปรุงและแก้ไข
4.2 การใช้งานบนระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ macOS Windows ร่วมกับโปรแกรม และการพิมพ์กับการแสดงผลบนโปรแกรมได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่
4.3 ทดสอบประสิทธิภาพทางการพิมพ์ของสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษาที่ออกแบบและพัฒนาขึ้น ด้วยเครื่องพิมพ์ตรวจสอบความเหมาะสมของชุดตัวอักษร
5. ขั้นประเมินผล
ประเมินชุดตัวอักษรที่ออกแบบขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญด้านออกแบบ จำนวน 3 คน ทั้งหมด 3 ครั้ง
5.1 แบบประเมินชุดอักษร การสร้างแบบประเมินชุดอักษรมีขั้นตอนดังนี้
5.1.1 ศึกษาข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบประเมินชุดอักษร
5.1.2 สร้างแบบประเมินชุดอักษร เป็นแบบประเมิน โดยใช้มาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) กำหนดค่าคะแนนเป็น 5 ระดับ โดยกำหนดค่าดังนี้
ส่วนที่ 1 ระดับของชุดอักษร
ระดับ 5 หมายถึง ดีมาก
ระดับ 4 หมายถึง ดี
ระดับ 3 หมายถึง พอใช้
ระดับ 2 หมายถึง ต้องปรับปรุงแก้ไข
ระดับ 1 หมายถึง ไม่มีคุณภาพ
การแปลความหมายค่าเฉลี่ยโดยใช้เกณฑ์ดังนี้
คะแนนเฉลี่ย 4.51-5.00 หมายถึง ดีมาก
คะแนนเฉลี่ย 3.51-4.50 หมายถึง ดี
คะแนนเฉลี่ย 2.51-3.50 หมายถึง พอใช้
คะแนนเฉลี่ย 1.51-2.50 หมายถึง ต้องปรับปรุงแก้ไข
คะแนนเฉลี่ย 1.00-1.50 หมายถึง ไม่มีคุณภาพ
เกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนดคือค่าเฉลี่ยที่ได้ต้องมีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไป (ฐิติวัสส์ กาญจนพิมาย. 2556)
การประเมินประสิทธิภาพของตัวอักษร โดยการนำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นพร้อมแบบชุดอักษรต่อผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านเพื่อประเมินประสิทธิภาพของชุดอักษรจากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลผลการประเมินและข้อเสนอแนะ ผลที่ได้นำมาปรับปรุงแก้ไขตัวพิมพ์ตามความเหมาะสม โดยมีประเด็นในการประเมินคือ
1. ด้านหน้าที่ใช้สอยในการใช้งาน หมายถึง มีประโยชน์ต่อการใช้งานที่สะดวกในด้านการสื่อสาร (เข้าใจได้ง่าย)
2. ด้านรูปร่างและความสวยงาม หมายถึง มีรูปแบบที่สวยงาม เหมาะสมสอดคล้องกับรูปแบบตัวอักษร
ทดสอบคุณภาพของชุดอักษรที่ออกแบบและสร้างขึ้น
การทดสอบคุณภาพทางการใช้ของชุดอักษรนั้นจะใช้แบบทดสอบคุณภาพชุดอักษรที่ได้สร้างขึ้นโดยกลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ 50 คน โดยเลือกแบบเจาะจง จากหน่วยภายมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ระดับความเห็นของชุดอักษร
ระดับ 5 หมายถึง มากที่สุด
ระดับ 4 หมายถึง มาก
ระดับ 3 หมายถึง ปานกลาง
ระดับ 2 หมายถึง น้อย
ระดับ 1 หมายถึง น้อยที่สุด
การแปลความหมายค่าเฉลี่ยโดยใช้เกณฑ์ดังนี้
คะแนนเฉลี่ย 4.51-5.00 หมายถึง มากที่สุด
คะแนนเฉลี่ย 3.51-4.50 หมายถึง มาก
คะแนนเฉลี่ย 2.51-3.50 หมายถึง ปานกลาง
คะแนนเฉลี่ย 1.51-2.50 หมายถึง น้อย
คะแนนเฉลี่ย 1.00-1.50 หมายถึง น้อยที่สุด
เกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนดคือค่าเฉลี่ยที่ได้ต้องมีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไป (ฐิติวัสส์ กาญจนพิมาย. 2556)
ผลการวิจัย
ตอนที่ 1 การออกแบบและพัฒนาชุดรางฟอนต์ของสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าศึกษาศึกษาลักษณะประเภทของตารางฟอนต์ต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างกัน แล้วนำแบบตารางฟอนต์ของแต่ละประเภทมาเทียบเคียงหาจุดพกพร่องของแบบตัวอักษรและได้ออกแบบปรับชุดตารางฟอนต์ใหม่ เพื่อได้รูปแบบของตรารางฟอนต์ของสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษาที่เหมาะสม
ดังนั้นผู้วิจัยได้ออกแบบและพัฒนาชุดตารางฟอนต์ขึ้นมาใหม่ (Font: iETemplate) เพื่อทำให้การสร้างชุดตัวอักษรภาษาไทยให้ง่ายยิ่งขึ้น และแก้ไขปัญหาการใช้สระอำ ไม้โท ที่ทับซ้อนกัน เช่น โปรแกรมกราฟิก Adobe CS Adobe CC การสร้างต้นแบบของตารางฟอนต์ชุดใหม่ ได้มีการปรับแก้ Script feature liga เพื่อควบคุมตัวอักษรแบบ OpenType ใหม่ เพื่อรองรับโปรแกรมกราฟิก Adobe CS Adobe CC และชุด Microsoft Office 2016 แล้วนำชุดตัวอักษรที่ออกแบบไว้เพื่อสร้างชุดตัวอักษรต่อไป
เมื่อได้ชุดตารางฟอนต์ของสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา โดยนำชุดตัวอักษรที่ออกแบบไปทดลองใช้งานด้วยโปรแกรม Microsoft Word, Adobe Photoshop, Adobe Illustrator และ Adobe InDesign ในระบบปฏิบัติการ Windows และ macOS เพื่อหาข้อบกพร่องของชุดตารางฟอนต์ที่พัฒนาขึ้น พบข้อบกพร่องของชุดของตารางฟอนต์ที่พัฒนาขึ้นยังมีตัวอักษรภาษาไทยที่ซ้ำกันและไม่แสดงผลในการใช้งานในแบบอักษรที่เป็นระบบโอเพ้นไทป์ยูนิโค๊ต และแก้ปัญหาสระ วรรณยุกต์ทับซ้อนกับพยัญชนะ เช่น ป ฝ ฟ ตัวหลบหางยาว และ ฬ เช่น นาฬิกา กับสระล่าง ญ ฐ ฎ ฏ ฤ ฦ เพิ่มการใช้งานในภาษาบาลีภาษาสันสกฤตภายในฟอนต์ด้วยและดำเนินแก้ไข โดยการสร้าง ผู้วิจัยได้ปรับปรุงแก้ไขชุดตารางฟอนต์ ได้ชุดตารางฟอนต์ใหม่เพื่อนำไปใช้ต่อไป
ตอนที่ 2 ผลของการการออกแบบชุดตัวอักษรของสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ผลการประเมินจากแบบชุดตัวอักษรของสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ผู้เชี่ยวชาญ มีข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ข้อบกพร่อง สามารถสรุปตามรายประเด็น มีดังนี้
จุดตัดของเส้นตัวอักษร พ ฟ ควรให้เส้นตัดกันพอดี จะเพิ่มความสวยงามยิ่งขึ้น ฟอนต์ iE Karun เป็นลักษณะของตัวอักษรที่เหมาะสมกับรูปประโยคที่ไม่ยาว ทำให้ดูน่าสนใจ
การออกแบบชุดอักษรมีความสวยงามเป็นเอกภาพ ตัวอักษรมีความสัมพันธ์กันเป็นการออกแบบชุดอักษรที่ถ่ายทอดคุณค่าเชิงสุนทรียศาสตร์ ได้เป็นอย่างดี และได้เห็นการพัฒนาฟอนต์แบบใหม่ ๆ ด้วย ผู้วิจัยได้ปรับปรุงแก้ไขตามผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะ ได้ผลการประเมินแบบชุดตัวอักษรของสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยผู้เชี่ยวชาญ
ผู้เชี่ยวชาญ มีความเห็นต่อชุดตัวอักษรของสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา อยู่ในระดับดี (=4.72, S.D.= 0.31) คิดเป็นร้อยละ 94.00 เมื่อพิจารณาตามรายการ รูปแบบชุดอักษรสามารถสื่อสารได้ และรูปแบบชุดอักษรกลมกลืน เป็นเอกภาพ (=5.00, S.D.=0.00) คิดเป็นร้อยละ 100 อยู่ในระดับดีมาก เหมาะสมกับการนำไปประยุกต์ใช้ (=4.80, S.D.=0.45) อยู่ในระดับดีมาก และมีความชัดเจน จดจำง่าย ขนาดสัมพันธ์กับการมองเห็น การย่อขยาย (=4.40, S.D.=0.55) คิดเป็นร้อยละ 88.00 อยู่ในระดับดี ตามลำดับ
ความพึงพอใจต่อชุดตัวอักษรของสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มีความพึงพอใจระดับมาก (=4.39, S.D.= 0.49) คิดเป็นร้อยละ 87.80 เมื่อพิจารณาตามรายการ รูปแบบชุดอักษรมีความน่าสนใจ (=4.52, S.D.=0.59) มีความพึงพอระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 90.40 สามารถนำไปใช้งานกับหน่วยงานอื่น ๆ (=4.48, S.D.=0.59) มีความพึงพอใจระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 96.00 สามารถจดจำรูปแบบตัวอักษรได้ และความกลมกลืนของชุดอักษร (=4.28, S.D.=0.68) มีความพึงพอใจระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 85.60 ตามลำดับ
สรุปผลการวิจัย
ตอนที่ 1 การออกแบบและพัฒนาชุดรางฟอนต์ของสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
จากชุดของตารางฟอนต์ที่พัฒนาขึ้นยังมีตัวอักษรภาษาไทยที่ซ้ำกันและไม่แสดงผลในแบบอักษรที่เป็นระบบโอเพ้นไทป์ยูนิโค๊ต แก้ปัญหาสระและวรรณยุกต์ทับซ้อนกับพยัญชนะ เช่น ป ฝ ฟ ตัวหลบหางยาว และ ฬ เช่น นาฬิกา กับสระล่าง ญ ฐ ฎ ฏ ฤ ฦ เพื่อเพิ่มการใช้งานภาษาบาลีภาษาสันสกฤตภายในฟอนต์ด้วย ผู้วิจัยได้ปรับปรุงแก้ไขชุดตารางฟอนต์ ซึ่งได้ชุดตารางฟอนต์ขึ้นมาใหม่สำหรับการสร้างตัวอักษร
ตอนที่ 2 ผลของการการออกแบบชุดตัวอักษรของสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
การประเมินจากแบบชุดตัวอักษรของสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา ผู้เชี่ยวชาญ มีข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ข้อบกพร่อง ดังนี้ ฟอนต์ iE Karun แก้ไขสระ วรรณยุกต์ทับตัวอักษร นาฬิกา iE Surasak Light แก้ไข ตัวอักษร ญ ฤ ฦ ๆ ฯ สระอู ฟอนต์ iE Thitiwat UltraBlack แก้ไขสระ วรรณยุกต์ หลบหางยาว ฟอนต์ iE Thossaporn แก้ไขสระ วรรณยุกต์ หลบหางยาว ญ ฐ จุดตัดของเส้นตัวอักษร พ ฟ ฟอนต์ iE Karun เป็นลักษณะของตัวอักษรที่เหมาะสมกับรูปประโยคที่ไม่ยาว ทำให้ดูน่าสนใจ การออกแบบชุดอักษรมีความสวยงามเป็นเอกภาพ ตัวอักษรมีความสัมพันธ์กันเป็นการออกแบบชุดอักษรที่ถ่ายทอดคุณค่าเชิงสุนทรียศาสตร์ ได้เป็นอย่างดี และได้เห็นการพัฒนาฟอนต์แบบใหม่ ๆ ด้วย
ผลการประเมินจากแบบชุดตัวอักษรของสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา อยู่ในระดับดีมาก (=4.72, S.D.= 0.31) คิดเป็นร้อยละ 94.00
ความพึงพอใจต่อชุดตัวอักษรของสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มีความพึงพอใจระดับมาก (=4.39, S.D.= 0.49) คิดเป็นร้อยละ 87.80
อภิปรายผล
ชุดตัวอักษรของสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา รูปแบบชุดอักษรสามารถสื่อสารได้ มีความชัดเจน จดจำง่าย มีความกลมกลืน เป็นเอกภาพ เหมาะสมกับการนำไปประยุกต์ใช้ ด้วยการออกแบบชุดอักษรมีความสวยงามเป็นเอกภาพ ตัวอักษรมีความสัมพันธ์กันเป็นการออกแบบชุดอักษรที่ถ่ายทอดคุณค่าเชิงสุนทรียศาสตร์ ได้เป็นอย่างดี และได้เห็นการพัฒนาฟอนต์แบบใหม่ ๆ ด้วย ซึ่งสอดคล้องกับ (วุฒินันท์ รัตสุข. 2559, ภักดี ต่วนศิริ. 2557, รัชภูมิ ปัญส่งเสริม. 2554, ชยนันต์ ชุติกาโม. 2553) ได้การออกแบบตัวอักษรและภาพสำเร็จรูปในรูปแบบเลขนศิลป์ ได้สรุปว่าการออกแบบสามารถนำเสนอรูปแบบของตัวอักษรและภาพสำเร็จรูปที่ผสมผสานการเล่าเรื่องวัฒนธรรมประเพณีที่สามารถนำไปใช้งานได้อย่างกลมกลืนร่วมสมัย เมื่อนาไปใช้ประโยชน์ยังสามารถรับรู้กลิ่นอายทางวัฒนธรรม สามารถนาเอาผลงานไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการนำแนวคิดด้านวัฒนธรรมมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความเชื่อและทัศนคติ
ความพึงพอใจต่อชุดตัวอักษรของสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมามีรูปแบบชุดอักษรมีความน่าสนใจ มีความกลมกลืนของชุดอักษร สามารถจดจำรูปแบบตัวอักษรได้ และ สามารถนำไปใช้งานกับหน่วยงานอื่น ๆ
ข้อเสนอแนะ
ปัจจัยของการออกแบบต้องคำนึงถึง ความสัมพันธ์อย่างมีเอกภาพ มีสมดุล ความเหมาะสมไม่ขัดแย้งกัน เมื่อดูด้วยสายตาจะเห็นถึงความต่อเนื่องขององค์ประกอบ มีความน่าสนใจ เป็นการสร้างสรรค์งาน ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักในการออกแบบตัวอักษร และสิ่งที่สำคัญต้องเข้าใจรูปแบบของตัวอักษร สระ วรรณยุกต์ ในการแสดงผลของภาษาไทย นอกจากนี้ยังต้องมีความเข้าใจและมีความชำนาญในการใช้โปรแกรมกราฟิกสำหรับงานออกแบบ รวมถึงระบบปฏิบัติการทั้งวินโดวส์และแมคโอเอสด้วย